Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • รัฐคุมเพดานดอกเบี้ยลีสซิ่ง หวั่นรถมือสอง-จยย.ป่วน!

รัฐคุมเพดานดอกเบี้ยลีสซิ่ง หวั่นรถมือสอง-จยย.ป่วน!

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เห็นชอบในร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ……คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ที่เป็นการปรับปรุงใหม่ หากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้หลังจากนั้นใน 90 วัน คาดการณ์กันว่า จะมีผลบังคับใช้ภายในไตรมาสแรกของปี 2566

ทั้งนี้ ประกาศฯ ฉบับใหม่ มีสาระสำคัญบางส่วน ที่เป็นการจัดระเบียบธุรกิจเช่าชื้อ สินเชื่อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ประกอบด้วย กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยธุรกิจเช่าซื้อ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ รถยนต์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 10% ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วหรือรถเก่า (มือสอง) อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ ในอัตราไม่เกิน 23% ต่อปี ขณะเดียวกันได้วางหลักเกณฑ์กรณีการคืนรถหรือปิดบัญชีก่อนกำหนด เป็นแบบ 2 ขั้นบันได คือ ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่างวดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จึงจะให้ส่วนลดปิดบัญชี 60% ถ้าชำระค่างวดเกินกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ให้ส่วนลด 70%

สำหรับกรณียึดรถ เมื่อนำรถออกประมูลขายทอดตลาด หากมีหนี้ส่วนขาดหรือติ่งหนี้ ทางเจ้าหนี้สามารถเรียกเก็บได้เฉพาะหนี้เงินต้นคงค้างเท่านั้น โดยร่างประกาศฉบับใหม่นี้ ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บในส่วนดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึง และกำหนดชำระหลังที่บอกเลิกสัญญาแก่ผู้เช่าซื้อ จะนำเบี้ยปรับไปหักชำระค่างวดที่เรียกเก็บต้องแจ้งล่วงหน้า 7 วัน ในส่วนนี้คล้ายของเดิม โดยแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำใช้สิทธิซื้อคืนภายใน 30 วัน โดยผู้เช่าซื้อต้องแจ้งสิทธิใน 20 วัน

ย้ำรถใหม่ไม่สะท้าน

แม้หลายคนต่างมองว่า การควบคุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในประกาศฉบับใหม่ ต่างส่งผลดีต่อประชาชนผู้บริโภค แต่เอาเข้าจริง!! บรรดาแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ในส่วนของรถยนต์ใหม่ป้ายแดงทางผู้บริโภคไม่สะเทือนแน่นอน เพราะลูกค้าที่เช่าซื้อรถใหม่ จะเสียดอกเบี้ยในปัจจุบันไม่เกิน 2-3% ต่อปี อยู่แล้ว ขณะเดียวกันค่ายรถยนต์ต่างมีแคมเปญดึงดูดให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น บางครั้งไม่มีดอกเบี้ยด้วยซ้ำไป และยังให้ผ่อนกันยาว ๆ นานถึง 48 เดือน ก็มีการเช่าซื้อรถยนต์ ไม่เฉพาะกลุ่มที่เป็นรถมหาชน เช่น รถอีโคคาร์ รถยนต์นั่งทั่วไป เท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดรถหรู รถพรีเมียมราคาแพง ลูกค้าหันมาใช้บริการเช่าซื้อ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1-3% ต่อปี ไม่ได้เป็นปัญหาใด ๆ ยังมีผู้ซื้อบางส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมเคยจ่ายเงินสด ก็มาเช่าซื้อแทน ในความเป็นจริงแล้วปัจจุบันดอกเบี้ยสินเชื่อสูงสุดยังมีไม่ถึงครึ่งตามที่รัฐได้กำหนดด้วยซ้ำ โดยตัวเลขที่สูงเกิน 10% นี้เป็นตัวเลขที่ให้กู้เมื่อกว่าสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงนี้ไม่เคยมีการเรียกเก็บอัตราดังกล่าวอีกแล้ว ดังนั้น!! การออกมาตรการครั้งนี้ไม่ทันสมัยและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

รถเก่าจยย.กู้ยาก

สำหรับอัตราดอกเบี้ยรถยนต์ใช้แล้ว หรือรถยนต์มือสอง ในปัจจุบันรถที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 3-5% ต่อปี ลูกค้าต้องมีประวัติดี ส่วนรถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุเกินกว่า 10-12 ปีขึ้นไป คิดดอกเบี้ย 15-20% ต่อปี สูงสุดคือ กลุ่มที่ไม่มีเครดิต หรือกลุ่มที่ไม่สามารถขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้รับอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25-30%

ทั้งนี้ถือว่า…เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แน่นอนว่า 2 กลุ่ม ท้ายขบวนได้รับผลกระทบ ความเดือดร้อน ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องการนำรถไปใช้ทำมาหากิน หรือบางคนก็เป็นเกษตรกร เป็นต้น แต่คุณสมบัติไม่ตรงตามกติกาปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ

ทุกวันนี้ตลาดรถยนต์มือสองยังมีรถไม่เพียงพอที่ตอบสนองตลาดได้ ที่หนักหนาสาหัสไปกว่าอื่นใด คือกลุ่มที่ต้องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ เพราะตามที่ทางการได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยไม่เกิน 23% ต่อปี แต่ที่คิดกันตามความจริงอยู่ที่ 30-36% เพราะเป็นการประกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากกลุ่มที่ซื้อรถจักรยานยนต์จำนวน 100% แบ่งเป็นซื้อเงินสดประมาณ 20% และอีก 80% เช่าซื้อ

จากจำนวนผู้เช่าซื้อ 80% เป็นกลุ่มรากหญ้า เกษตรกร คนตกงานที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่มีหลักฐานเอกสารทางการเงินที่จะยื่นขอเช่าซื้อได้เลย ที่กลุ่มฐานรากเหล่านี้ได้เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ได้ ส่วนใหญ่มาจากผู้ให้สินเชื่อท้องถิ่น หรือผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) ห้าง ร้าน ที่ขาย ให้ผ่อนได้กับทางร้านโดยตรง ดอกเบี้ยสูง ให้ผ่อนนาน รายเดือนที่จ่ายน้อย ซึ่งพวกเขาก็พอใจเพราะได้เครื่องมือช่วยทำมาหาเลี้ยงชีพ

ซบเงินกู้นอกระบบแน่

ทั้งกลุ่มรถยนต์มือสองที่มีอายุมาก ๆ หรือรถมอเตอร์ไซค์ หลังจากนี้ที่ประกาศ ร่างฯ ใช้อย่างเป็นทางการ มองว่าไม่ง่ายเลยที่จะเช่าซื้อแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เพราะชาวบ้าน ร้านค้าที่อยู่กันมานาน ไม่ต้องใช้เอกสารทางการเงิน ใช้แต่ความไว้เนื้อเชื่อใจ จากซื้อรถคันแรกผ่อนจบไม่มีปัญหา ซื้อคันต่อไปก็มาผ่อนใหม่ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเพดานดอกเบี้ยถูกควบคุม เกราะป้องกันความเสี่ยงเหมือนที่ผ่านมา ก็ไม่มีอีกแล้ว ดังนั้นการปล่อยกู้ก็ต้องยากยิ่งขึ้น

การซื้อรถจักรยานยนต์ ต้องมีเงินดาวน์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 25-30% เช่น หากราคาคันละ 50,000 บาท ต้องมีเงินดาวน์ 15,000 บาท และเชื่อว่าจากนี้ไป จะไม่ได้เห็นป้ายโฆษณา ดาวน์ 0% หรือมีเงิน 999 บาท ก็ออกรถได้ อีกต่อไป และกลายเป็นตำนานอีกครั้ง!! เมื่อไม่มีเครดิต!! ไม่มีเงิน!! ไม่มีเอกสารทางการเงินที่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถกู้ได้อีก ตรงนี้กลายเป็นแรงผลักให้คนกลุ่มนี้ไปหาเงินนอกระบบเพื่อมาซื้อรถ เพื่อใช้ทำมาหากิน ซึ่งรู้ดีอยู่แล้วว่าดอกเบี้ยสูงกว่าหลายเท่าตัว

ก่อนหน้านี้… ค่ายไทยฮอนด้า ผู้ครองส่วนแบ่งตลาดรถจักรยาน ยนต์รายใหญ่ คาดการณ์ตลาดรถจักรยานยนต์ในไทยเติบโตขึ้น 8% หรืออยู่ที่ 1.74 ล้านคัน ซึ่งในไตรมาสสุดท้ายนี้… มีปัจจัยบวกหลายอย่างทั้งการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ การท่องเที่ยวดีขึ้น เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ภาวะตกงานเริ่มลดน้อยลง และในเร็ว ๆ นี้จะมีการเลือกตั้งด้วย

ถ้าหากดอกเบี้ยเช่าซื้อถูกกดไม่ให้เกิน 23% ยอดขายรถจักรยานยนต์ปี 66 ถ้าสามารถแตะ 1.74 ล้านคันได้เท่ากับปีนี้ ถือว่าสุดแสนโชคดี!! แต่…มีความเป็นไปได้ยากทีเดียว เพราะปล่อยกู้ไม่ได้ ขายของได้น้อยลง ตัวเลขดี ๆ จะเอามาจากแห่งหนใด ในปีนี้ตลาดรถจักรยานยนต์เพิ่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และตามมาด้วยการขาดแคลนชิ้นส่วน ชิพ เซมิคอนดักเตอร์ ดีได้ปีเดียวก็จะหมุนกลับวังวนเดิมอีก

นอกจากนี้ผลกระทบยังมีต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วน จนถึงโรงงานประกอบ ซึ่งมีการจ้างงานรวม 550,000 คน พนักงานในกลุ่มดีลเลอร์อีกราว 100,000 คน รวมถึงบริษัทผู้ให้เช่าซื้อที่ให้บริการแก่ลูกค้า โดยเฉพาะตลาดรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีสัดส่วน 80% ของยอดผลิตรถยนต์โดยรวม 1.8-2 ล้านคัน ถ้ายอดขายลด การผลิตลด ต้นทุนต่อคันย่อมแพงขึ้น ขณะที่ภาครัฐกำลังส่งเสริมการผลิตรถยนต์ในประเทศ เช่น รถไฟฟ้า ถ้ายอดขายไม่เติบโต รายใหม่ก็ไม่เข้ามาลงทุน และบทเรียนการคุมเพดานดอกเบี้ยเคยมีในต่างประเทศใกล้บ้านเราที่ทำคล้ายกันตลาดลดลงถึง 30-40% ในที่สุดก็ยกเลิก

ลีสซิ่งรายเล็กได้ปิดกิจการ

ลีสซิ่งที่ให้สินเชื่อกับรถจักรยานยนต์ มักเป็นดีลเลอร์ของรถยี่ห้อนั้น ๆ ปล่อยกู้เอง ลีสซิ่งท้องถิ่น และลีสซิ่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ การนำเงินไปปล่อยกู้ คือทุนที่ลีสซิ่งแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันอย่างมาก หากเป็นบริษัทในเครือต้นทุนถูกกว่า แต่ถ้าเป็นลีสซิ่งขนาดเล็ก ลีสซิ่งท้องถิ่น ต้นทุนทางการเงิน 15-22% ในจำนวนนี้จะเป็นค่าสำรองความเสี่ยง ต้นทุนกู้ยืม และต้นทุนการดำเนินงาน จึงต้องปล่อยอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 36% เพื่อให้คุ้มค่ากับความเสี่ยง

เมื่อถูกจำกัดคิดดอกเบี้ยได้เพียง 23% มาร์จินไม่เหลือ ส่วนต่างกำไรลดลง ฉะนั้นสู้ส่งให้บริษัทไฟแนนซ์รายใหญ่รับช่วงไปปล่อยกู้ แถมยังรักษายอดขายได้ทำให้ไปต่อได้ ส่วนจะมองหาหนทางแก้ไขให้ทำธุรกิจด้วยการขยายวงเงิน หรือขยายเวลาผ่อน ยิ่งเสี่ยงหนักเข้าไปอีก หากเกิดวิกฤติ ยิ่งล้มเร็วเพราะสายป่านไม่ยาวเพียงพอ ขณะเดียวกันในอนาคตเมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เข้ามากำกับดูแลกลุ่มลีสซิ่งครอบคลุม ก็จะยากขึ้นไปอีก เพราะที่ผ่านมายอมรับว่าการทำธุรกิจมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่มีกฎกติกาที่เข้มงวด ดังนั้น เมื่อทำธุรกิจไม่มีกำไร ทำได้ยาก การเลิกกิจการมีความเป็นไปได้สูง

กติกาใหม่ที่ทางการเล็งประกาศใช้มีความหวังดีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน ผู้บริโภค ให้มีค่าใช้จ่ายลดลง หรือให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ตรงนี้ส่งถึงผู้บริโภคอย่างแน่นอน แต่เป็นเพียงบางกลุ่ม และกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีกำลังซื้อ มีเงิน มีเครดิต ไม่ใช่กลุ่มที่ต้องซื้อรถเพื่อไปทำมาหากินหาเลี้ยงชีพ แต่ประชาชนกลุ่มใหญ่ ฐานราก เป็นคนที่เดือดร้อน คนตกงานเริ่มต้นใหม่ เปลี่ยนอาชีพ ไม่มีรายได้รายเดือน ไม่มีเอกสารทางการเงิน ซึ่งส่วนนี้มีจำนวนมากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ซ้ำหนักไปกว่านั้น กลายเป็นเพิ่มภาระเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องไปกู้เงินนอกระบบมาซื้อรถ

ปัญหาต่อเนื่องก็จะตามมา ส่วนไฟแนนซ์ เข้มงวดปล่อยกู้มากขึ้น ยอดขายลดลง ดีลเลอร์ และผู้ผลิตเดือดร้อน..แทนที่จะได้ประโยชน์ กลายเป็นสร้างปัญหาใหม่ หมุนวนอยู่อย่างนี้แก้ไม่ตก จบไม่ได้

ไฟแนนซ์วุ่นปล่อยกู้ยาก

วิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์” ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อ บอกว่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้ประกอบการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยสินเชื่อรถจักรยานยนต์เฉลี่ย 30-32% ต่อปี ตามปกติต้นทุนผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินจะต่ำกว่าผู้ให้บริการที่เป็นนอนแบงก์อยู่แล้ว ขณะที่การแข่งขันของกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ถ้าเก็บดอกเบี้ยได้น้อย หรือดอกเบี้ยต่ำจะไม่คุ้มกับความเสี่ยง อาจทำให้ผู้กู้เข้าถึงได้ยาก เพราะมีความเสี่ยงมาก โดยต้นทุนเครดิตอยู่สูงถึง 8-12%

สำหรับรถยนต์ใหม่ป้ายแดง ในปัจจุบันคิดดอกเบี้ยรวมทุกอย่างแล้วอยู่ที่ประมาณ 4-5% ถ้าหากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยรถยนต์ใหม่ ไม่เกิน 10% ย่อมไม่ส่งกระทบกับลีสซิ่งรถยนต์ใหม่ แต่หากรถยนต์มือสองหรือรถยนต์ใช้แล้ว ที่ได้กำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 15% ต่อปี ถ้ารถไม่เก่ามากหรือมีการใช้งานมาต่ำกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นไฟแนนซ์ขนาดใหญ่ที่ปล่อยกู้ให้ โดยไฟแนนซ์เหล่านี้อาจไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เพราะในปัจจุบันก็เก็บดอกเบี้ยอยู่แล้วประมาณ 8-9% แต่ถ้าเป็นบริษัทไฟแนนซ์ขนาดเล็ก หรือเป็นไฟแนนซ์ท้องถิ่น ที่ปล่อยกู้รถยนต์มือสองอายุเกิน 15 ปีขึ้นไป ก็อาจได้รับผลกระทบมาก เพราะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

ธปท.พร้อมดูแลผู้บริโภค

รณดล นุ่มนนท์” รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในเรื่องการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์นั้น ธปท.อยู่ระหว่างสรุปผลของการเปิดรับฟังความเห็นก่อนหน้านี้ ซึ่งทำควบคู่กับการทำงานของ สคบ. เพื่อดูแลผู้บริโภคที่ถูกผู้ให้บริการเงินกู้รถยนต์คิดดอกเบี้ยแพงและไม่เป็นธรรม โดยคาดว่าแนวทางกำกับดูแลธุรกิจนี้จะออกมาได้ภายในต้นปี 66 และจะมีผลบังคับใช้ 180 วันนับจากประกาศ โดยเป็นแนวกำกับดูแลทั้งระบบไม่ใช่แค่เรื่องอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ธปท.ได้ทำงานร่วมกับ สคบ.มาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการคำนวณต้นทุนและอัตราดอกเบี้ย เพื่อใช้กำหนดเพดานดอกเบี้ยให้ชัดเจน ซึ่งในระหว่างที่แนวทาง ธปท.ยังไม่มีผลบังคับใช้ ก็ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยของ สคบ.ไปก่อน แต่ในอนาคต ธปท.จะได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อลีสซิ่งของตัวเอง ส่วน สคบ.จะเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องอื่น ๆ แทน เช่น ในเรื่องของการกำกับดูแลสัญญากู้ยืม ถือเป็นเรื่องที่ดีที่เข้ามาคุ้มครองผู้บริโภค และ ธปท.ได้พูดคุยหารือร่วมกับ สคบ.อยู่ตลอดถึงแนวทางในการทำงาน และแนวทางการกำกับดูแล อย่างไรก็ตามหลังจากนี้เพดานดอกเบี้ยที่กำหนดอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เป็นอัตราเพดานนี้ไปตลอดก็ได้

ทำใจ! ยอดขายรถชะงัก

จาตุรนต์ โกมลมิศร์” ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะรองประธานจัดงานมอเตอร์โชว์ ให้มุมมองว่า แนวความคิดของภาครัฐ ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ค่าใช้จ่ายลดลง แต่ลืมนึกไปว่ามีเพียงกลุ่มน้อยที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถ เพราะคนกลุ่มนี้มีกำลังที่จะซื้อได้ หากลองพิจารณาตามความเป็นจริง ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถยนต์ตอนนี้ก็ถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมากแล้ว แม้ว่าทิศทางดอกเบี้ยจะขยับปรับขึ้นก็เพียง 0.25% หรือ 0.50% เท่านั้น แต่ในทางกลับกัน กรณีที่เป็นปัญหาคือ ในเรื่องของภาระค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ที่ต้องยอมรับว่าประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นทุกทาง ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐพยายามดำเนินการ แม้จะบอกว่าเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภค แต่ในความเป็นจริงแล้ว เท่ากับว่าเป็นการจำกัดขีดความสามารถของคนที่ต้องการมีเครื่องมือช่วยทำมาหาเลี้ยงชีพ ให้อยู่ในวงจำกัดมากขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ดีในมุมของผู้จัดงานมอเตอร์โชว์ ซึ่งในงานมีการซื้อขายรถ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่เข้าไปเลือกซื้อรถยนต์เพื่อใช้ประกอบอาชีพ ไปดูแคมเปญว่าให้อะไร ดอกเบี้ยเท่าไหร่ คุ้มค่ามากน้อย หากเป็นเช่นนี้มองว่าปีหน้าภาพรวมของยอดขายรถอาจชะลอตัวลง เพราะมีข้อจำกัดของไฟแนนซ์ในการปล่อยสินเชื่อที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น เรื่องของเงินดาวน์ที่ต้องมี คุณสมบัติของผู้กู้ เป็นต้น

…ทีมเศรษฐกิจ…คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง