ผลวิจัยเผย มลภาวะจากการจราจรอาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้
ผลการวิจัยของ โจเอล คอฟแมนผู้เขียน แพทย์และศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและชีวอนามัยแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในสหรัฐฯ ระบุว่า มลพิษทางอากาศจากการจราจรอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจตกค้างไหลเวียนอยู่ในร่างกายได้นานถึง 24 ชั่วโมง ไม่ต่างอะไรจากการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมาได้คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
วิจัยใหม่ชี้ รูโหว่โอโซนอาจไม่เล็กลงอย่างที่คิด แต่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
ใกล้หายนะเข้าไปทุกที สัปดาห์ที่แล้วโลกร้อนเกิน 2 องศาฯ ชั่วขณะ!
คนรวยบนโลกที่มีอยู่เพียง 1% สร้างมลพิษมากกว่าคนจนทั้งโลกรวมกัน
นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า การสัมผัสกับไอเสียรถยนต์เป็นเวลานาน ยังเชื่อมโยงอย่างกว้างขวางกับปัญหาระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โดยเฉพาะในเด็ก
"คอฟแมน" วิจัยกับอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้มีสุภาพแข็งแรง อายุระหว่าง 22 – 45 ปี จำนวน 16 คน ที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ในจำนวนนี้ 2 กลุ่ม จะนั่งในรถยนต์ที่ไม่ติดตั้งแผ่นกรอง และอากาศสามารถเข้าสู่ตัวรถได้ ตลอดการวิ่งบนถนนของเมืองซีแอตเทิลในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน
ส่วนอาสาสมัครอีกกลุ่ม จะนั่งในรถยนต์ ที่มีการติดตั้งแผ่นกรองเฮปา (Hepa) ที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นที่สูงกว่าแบบปกติ แต่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะไม่ทราบว่าเป็นรถคันไหนและนักวิจัยดำเนินการวัดความดันโลหิตของผู้โดยสารทั้งก่อน ระหว่างและหลังการนั่งรถที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครที่หายใจเอาอากาศที่ไม่ได้กรองเข้าไปในร่างกาย มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นกว่า 4.5 มิลลิเมตรปรอด เมื่อเทียบกับกลุ่มที่นั่งในรถที่ติดตั้งแผ่นกรอง โดยมลพิษส่วนใหญ่มาจากท่อไอเสียหรือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึง การสึกหรอของเบรกและยาง
ขณะที่ตัวกรองมีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดอนุภาคละเอียดพิเศษลงได้ถึง 86% ลดคาร์บอนดำที่ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมันดีเซล ได้ถึง 86% รวมถึง ลดฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ได้ 60% แต่ไม่สามารถกรองคาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ได้
ภาพจากPedro PARDO / AFP